เมนู

อนึ่ง ในคำว่า อาทิเยยฺย เป็นต้นนี้ การประกอบความย่อมมี ด้วย
อำนาจสิ่งของสิ่งเดียวบ้าง ด้วยอำนาจสิ่งของต่าง ๆ บ้าง. ก็แล ความประกอบ
ด้วยอำนาจสิ่งของสิ่งเดียว ย่อมใช้ได้ด้วยทรัพย์ที่มีวิญญาณเท่านั้น. ความ
ประกอบด้วยอำนาจสิ่งต่าง ๆ ย่อมใช้ได้ด้วยทรัพย์ที่ปนกันทั้งที่มีวิญญาณทั้งที่
ไม่มีวิญญาณ. บรรดาความประกอบด้วยอำนาจสิ่งของสิ่งเดียวและสิ่งของต่างๆ
นั้น ความประกอบด้วยอำนาจสิ่งของต่าง ๆ บัณฑิตควรทราบโดยนัยอย่างนี้ก่อน.

[

อรรถาธิบายกิริยาแห่งการลัก 6 อย่าง

]
บทว่า อาทิเยยฺย ความว่า ภิกษุตู่เอาที่สวน ต้องอาบัติทุกกฎ.
ยังความสงสัยให้เกิดขึ้นแก่เจ้าของ ต้องอาบัติถุลลัจจัย. เจ้าของทอดธุระว่า
สวนนี้จักไม่เป็นของเราละ ต้องอาบัติปาราชิก.
บทว่า หเรยฺย ความว่า ภิกษุมีไถยจิตนำทรัพย์ของผู้อื่นไปลูบคลำ
ภาระบนศีรษะ ต้องอาบัติทุกกฎ. ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย. ลดลงมาสู่คอ
ต้องอาบัติปาราชิก.
บทว่า อวหเรยฺย ความว่า ภิกษุรับของที่เขาฝากไว้ เมื่อเจ้าของ
ทวงขอคืนว่า ทรัพย์ที่ข้าพเจ้าฝากไว้มีอยู่, ท่านจงคืนทรัพย์ให้แก่ข้าพเจ้า
กล่าวปฏิเสธว่า ฉันไม่ได้รับไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ. ยังความสงสัยให้เกิดขึ้นแก่
เจ้าของ ต้องอาบัติถุลลัจจัย. เจ้าของทอดธุระว่า ภิกษุรูปนี้ จักไม่คืนให้แก่เรา
ต้องอาบัติปาราชิก.
สองบทว่า อิริยาปถํ วิโกเปยฺย ความว่า ภิกษุคิดว่า เราจักนำ
ไปทั้งของทั้งคนขน ให้ย่างเท้าที่หนึ่งก้าวไป ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้ย่างเท้า
ที่สองก้าวไป ต้องอาบัติปาราชิก.

สองบทว่า ฐานา จาเวยฺย ความว่า ภิกษุมีไถยจิต ลูบคลำของ
ที่ตั้งอยู่บนบก ต้องอาบัติทุกกฏ. ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย. ให้เคลื่อน
จากที่ ต้องอาบัติปาราชิก.
สองบทว่า สงฺเกตํ วีตินาเมยฺย ความว่า ภิกษุยังเท้าที่หนึ่งให้
ก้าวล่วงเลยที่กำหนดไว้ไป ต้องอาบัติถุลลัจจัย. ให้เท้าที่สองก้าวล่วงไป ต้อง
อาบัติปาราชิก. อีกอย่างหนึ่ง ยังเท้าที่หนึ่งให้ก้าวล่วงด่านภาษีไป ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย. ยังเท้าที่สองให้ก้าวล่วงไป ต้องอาบัติปาราชิก ฉะนั้นแล. นี้เป็น
ความประกอบด้วยอำนาจนานาภัณฑะ ในบทว่า อาทิเยยฺย เป็นต้นนี้.
ส่วนความประกอบอำนาจเอกภัณฑะ พึงทราบดังนี้ :- ทาสก็ดี
สัตว์ดิรัจฉานก็ดี ซึ่งมีเจ้าของ ภิกษุตู่เอาก็ดี ลักไปก็ดี ฉ้อไปก็ดี ให้อิริยาบถ
กำเริบก็ดี ให้เคลื่อนจากฐานก็ดี ให้ก้าวล่วงเลยที่กำหนดไปก็ดี โดยนัยมีตู่เอา
เป็นต้น ตามที่กล่าวแล้ว. นี้เป็นความประกอบด้วยอำนาจเอกภัณฑะ ในบทว่า
อาทิเยยฺย เป็นต้นนี้.
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อบัณฑิตบรรยายบททั้งหลาย 6 เหล่านี้ พึงประมวล
ปัญจกะ 5 หมวดมาแล้วแสดงอวหาร 25 อย่าง. เพราะเมื่อบรรยายอย่างนี้
ย่อมเป็นอันบรรยายอทินนาทานปาราชิกนี้แล้วด้วยดี. แต่ในที่นี้ อรรถกถา
ทั้งปวง ยุ่งยากฟั่นเฝือ มีวินิจฉัยเข้าใจยาก. ความจริงเป็นดังนั้น ในบรรดา
อรรถกถาทั้งปวง ท่านพระอรรถกถาจารย์ รวมองค์แห่งอวหารทั้งหลาย แม้
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว ในพระบาลีโดยนัยว่า ภิกษุถือเอาสิ่งของที่
เขาไม่ได้ให้ ด้วยอาการ 5 ต้องอาบัติปาราชิก ทั้งสิ่งของนั้นเป็นสิ่งของที่ผู้อื่น
หวงแหน ดังนี้เป็นต้น ในที่บางแห่ง แสดงไว้ในปัญจกะเดียว. ในที่บางแห่ง
แสดงไว้สองปัญจกะควบเข้ากับองค์แห่งอวหารทั้งหลายที่มาแล้วว่า ฉหากาเรหิ

ด้วยอาการ 6 ดังนี้. แต่ปัญจกะเหล่านี้ ย่อมหาเป็นปัญจกะไม่. เพราะใน
หมวดซึ่งอวหารย่อมสำเร็จได้ด้วยบทหนึ่ง ๆ นั้น ท่านเรียกว่า ปัญจกะ. ก็ใน
คำว่า ปญฺจหากาเรหิ นี้ อวหารอย่างเดียวเท่านั้น ย่อมสำเร็จไว้ด้วยบท
แม้ทั้งหมด. ก็ปัญจกะทั้งหมดเหล่าใด ที่ท่านมุ่งหมายใน 6 บทนั้นข้าพเจ้า
แสดงไว้แล้ว, แต่ข้าพเจ้ามิได้ประกาศอรรถแห่งปัญจกะแม้เหล่านั้นทั้งหมดไว้.
ในที่นี้ อรรถกถาทั้งปวงยุ่งยากฟั่นเฝือ มีวินิจฉัยเข้าใจยาก ด้วยประการฉะนี้.
เพราะฉะนั้น พึงกำหนดอวหาร 25 ประการเหล่านี้ ที่ข้าพเจ้าประมวลปัญจกะ
5 หมวด มาแล้วแสดงไว้ให้ดี.

[

ปัญจกะ 5 หมวด ๆ ละ 5 ๆ รวมเป็นอวหาร 25

]
ที่ชื่อว่า ปัญจกะ 5 คือ หมวดแห่งอวหาร 5 ที่กำหนดด้วยภัณฑะ
ต่างกันเป็นข้อต้น 1 หมวดแห่งอวหาร 5 ที่กำหนดด้วยภัณฑะชนิดเดียวเป็น
ข้อต่าง 1 หมวดแห่งอวหาร 5 ที่กำหนดด้วยอวหารที่เกิดแล้วด้วยมือของตน
เป็นข้อต้น 1 หมวดแห่งอวหาร 5 ที่กำหนดด้วยบุพประโยคเป็นข้อต้น 1
หมวดแห่งอวหาร 5 ที่กำหนดด้วยการลักด้วยอาการขโมยเป็นข้อต้น 1. บรรดา
ปัญจกะทั้ง 5 นั้น นานาภัณฑปัญจกะ และเอกภัณฑปัญจกะ ย่อมได้ด้วย
อำนาจแห่งบทเหล่านี้ คือ อาทิเยยฺย พึงตู่เอา 1 หเรยฺย พึงลักไป 1
อวหเรยฺย พึงฉ้อเอา 1 อิริยาปถํ วิโกเปยฺย พึงยังอิริยาบถให้กำเริบ 1
ฐานา จาเวยฺย พึงให้เคลื่อนจากฐาน 1. ปัญจกะทั้งสองนั้น ผู้ศึกษาพึง
ทราบโดยนัยดังที่ข้าพเจ้าประกอบแสดงไว้แล้วในเบื้องต้นนั่นแล. ส่วนบทที่ 6
ว่า สงเกตํ วีตินาเมยฺย ( พึงให้ล่วงเลยเขตกำหนดหมาย ) นั้น เป็นของ
ทั่วไปแก่ปริกัปปาวหาร และนิสสัคคิยาวหาร. เพราะฉะนั้น พึงประกอบบท
ที่ 6 นั้น เข้าด้วยอำนาจบทที่ได้อยู่ในปัญจกะที่ 3 และที่ 5. นานาภัณฑ-
ปัญจกะ และเอกภัณฑปัญจกะ ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้ว.